ค้นหาข้อมูล

ประวัติศาสตร์

การลงทุน

 | ระบบการปกครอง | การแบ่งเขตการปกครอง | อ้างอิง |


ระบบการปกครอง

          เมียนมามีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล ระบบรัฐสภา สภาแห่งสหภาพ (Pyidaungsu Hluttaw) ประกอบด้วย 2 สภา ดังนี้
1. สภาผู้แทนราษฎร (Pyithu Hluttaw) มีสมาชิกไม่เกิน 440 คน มีวาระ 5 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่ม สมัยประชุมครั้งแรก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1.1. สมาชิกที่ได้รับการเลือกจากแต่ละเขต เลือกตั้ง ตามสัดส่วนประชากร จำนวน ไม่เกิน 330 คน
    1.2. สมาชิกที่เป็นบุคลากรของกองทัพตามที่ได้รับการแต่งตั้งโดยผู้บัญชาการทหารสูงสุดจำนวนไม่เกิน 110คน
2. สภาชาติพันธุ์ (Amyotha Hluttaw) มีสมาชิกไม่เกิน 224 คน มีวาระเช่นเดียวกับสภาผู้แทน ราษฎร และให้การหมดวาระเป็นวันเดียวกับการหมด วาระของสภาผู้แทนราษฎร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    2.1. สมาชิกสภาชาติพันธุ์จำนวน 168 คน ที่ได้รับการเลือกจากแต่ละเขตการ ปกครอง (Region) และรัฐ (State) จำนวน 12 คนต่อเขตการปกครองและรัฐ
    2.2. สมาชิกสภาชาติพันธุ์จำนวน 56 คน ที่เป็นบุคลากรของกองทัพ ที่ได้รับการ แต่งตั้งโดยผู้บัญชาการทหารสูงสุด จำนวน 4 คนต่อเขตการปกครองและรัฐ สภาแห่งเขตการปกครองและสภาแห่งรัฐ (Region Hluttaw/State Hluttaw) มีวาระเช่นเดียวกับสภา ผู้แทนราษฎร และให้การหมดวาระเป็นวันเดียวกับการ หมดวาระของสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก
         1. สมาชิกของสภาแห่งเขตการปกครองและสภา แห่งรัฐ มาจากการเลือกตั้งจากแต่ละเมืองในเขตการ ปกครอง (Region) หรือรัฐ (State) นั้น แล้วแต่กรณี
         2. สมาชิกของสภาแห่งเขตการปกครอง ได้รับ การเลือกตั้งจากแต่ละชาติพันธุ์ โดยอาศัยหลักว่า ให้ชาติพันธุ์ที่มีสัดส่วนของประชากรตั้งแต่ร้อยละ 0.1 ของ ประชากรทั้งหมดของสหภาพขึ้นไป มีผู้แทนของตนใน สภาแห่งเขตการปกครอง
         3. สมาชิกของสภาแห่งรัฐ ได้รับการเลือกตั้งจาก แต่ละชาติพันธ์ โดยอาศัยหลักว่า ให้ชาติพันธ์ุที่มีสัดส่วน ของประชากรตั้งแต่ร้อยละ 0.1 ของประชากรทั้งหมด ของสหภาพขึ้นไป มีผู้แทนของตนในสภาแห่งรัฐ
         4. สมาชิกของสภาแห่งเขตการปกครองหรือสภา แห่งรัฐ แล้วแต่กรณี ที่เป็นบุคลากรในกองทัพ ที่ได้รับการ แต่งตั้งจากผู้บัญชาการทหารสูงสุด จำนวน 1 ใน 3 ของ สมาชิกทั้งหมดของสภานั้น ที่มาจากการเลือกตั้งตามวิธี ที่ 1. และ 2. หรือ 1. และ 3. ประธานาธิบดีแห่งสหภาพเมียนมา ได้รับการเลือกตั้ง จากสภาผู้แทนราษฎร และสภาชาติพันธุ์ ดังนี้
              1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้รับการเลือกตั้ง จากแต่ละเขตเลือกตั้ง เสนอชื่อสมาชิก 1 คน
              2. สมาชิกสภาชาติพันธุ์ ที่ได้รับการเลือกตั้ง จากแต่ละเขตการปกครองและรัฐ เสนอชื่อสมาชิก 1 คน
              3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภา ชาติพันธุ์ ที่เป็นบุคลากรของกองทัพ ที่ได้รับการแต่งตั้ง โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุด เสนอชื่อสมาชิก 1 คน 4. สภาแห่งสหภาพ (สภาผู้แทนราษฎรและ สภาชาติพันธุ์) ลงคะแนนเสียง โดยผู้ที่ได้รับคะแนน เสียงมากที่สุดจะเป็น ประธานาธิบดี และผู้ถูกเสนอชื่อ อีก 2 คน เป็นรองประธานาธิบดี ประธานาธิบดีแห่งสหภาพเมียนมา พิจารณา แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ (Union Minister) จากสมาชิกสภาแห่งสหภาพ หรือบุคคลที่ เหมาะสม โดยความเห็นชอบของสภาแห่งสหภาพ และ พิจารณาแต่งตั้งมุขมนตรีประจำเขตการปกครองหรือรัฐ แล้วแต่กรณี จากสมาชิกสภาแห่งเขตการปกครองหรือ สภาแห่งรัฐ แล้วแต่กรณี โดยความเห็นชอบของสภาแห่ง เขตการปกครองหรือสภาแห่งรัฐ แล้วแต่กรณี
ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา คือ อูถิ่นจ่อ            

image048 image050

ภาพจาก http://transbordernews.in.th/home/?p=12199

[Top]

การแบ่งเขตการปกครอง

image042

         ประเทศพม่าแบ่งเขตการปกครองในระดับภูมิภาคออกเป็น 7 เขต (region) สำหรับพื้นที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พม่า และ 7 รัฐ (states) สำหรับพื้นที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย และ 1 ดินแดนสหภาพ ได้แก่

เขต 7 เขต

 

รัฐ 7 รัฐ

  1. เขตตะนาวศรี (Tanintharyi)
  2. เขตพะโค (Bago)
  3. เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay)
  4. เขตมาเกว (Magway)
  5. เขตย่างกุ้ง (Yangon)
  6. เขตสะกาย (Sagaing)
  7. เขตอิรวดี (Ayeyarwady)
  1. รัฐกะฉิ่น (Kachin)
  2. รัฐกะยา (Kayah)
  3. รัฐกะเหรี่ยง (Kayin)
  4. รัฐชาน (Shan)
  5. รัฐชิน (Chin)  ฮาคา   
  6. รัฐมอญ (Mon)
  7. รัฐยะไข่ (Rakhine)   

[Top]

ดินแดนสหภาพ

ดินแดนสหภาพเนปยีดอ (Naypyidaw Union Territory)


อ้างอิง

[Top]

  • กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (คู่มือโอกาสและทิศทางการค้าการลงทุนในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา)(ออนไลน์)แหล่งที่มา: http://www.ditp.go.th/ditp_pdf.php?filename=contents_attach/92681/92681.pdf&title=92681
  • asean-info.com (สภาพทางภูมิศาสตร์ : เมียนมาร์) (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.asean-info.com/asean_members/myanmar_location_climate.html
  • กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย (คู่มือ การค้าและการลงทุนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์)(ออนไลน์)แหล่งที่มา http://www.aecthaibiz.com/aecadmin/uploads/20150506_111719.pdf
  • วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (ประเทศพม่า)(ออนไลน์) แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki

ผู้ใช้งานออนไลน์

มี 82 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

จำนวนผู้ใช้งาน

301991
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
322
331
1649
298421
8038
10102
301991

Your IP: 52.90.40.84
2024-03-28 23:42

แสดงรูปภาพแบบสุ่ม

02.jpg

ติดต่อ-ประสานงาน

ศูนย์เมียนมาร์ศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด
เลขที่ 222 ม.7 ต.แม่ปะ 
อ.แม่สอด จ.ตาก 63110
โทร. 095-316-8999

 facebook     youtube 

email     twitter