ค้นหาข้อมูล

ประวัติศาสตร์

การลงทุน

| เมืองหลวง | เมืองสำคัญ เมืองเศรษฐกิจ | อ้างอิง |


เมืองหลวง

             กรุงเนปิดอว์ (Nya Pyi Daw) เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของเมียนมา ย้ายเมื่อ พ.ศ. 2548 ตั้งอยู่ตรงกึ่งกลางประเทศ ระหว่างย่างกุ้งกับมัณฑะเลย์ ห่างจากย่างกุ้งไปทางทิศเหนือประมาณ 360 กิโลเมตร พื้นที่ประมาณ 7 พันตารางกิโลเมตร เดินทางโดยรถยนต์จากกรุงย่างกุ้งใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง

             กรุงเนปิดอว์ มีการออกแบบวางผังเมืองเป็น 4 เขตหลัก ได้แก่

  1. เขตราชการ (Ministry Zone)
  2. เขตโรงแรม (Hotel Zone)
  3. เขตอุตสาหกรรม (IndustryZone)
  4. เขตทหาร (Military Zone)

            จุดที่น่าสนใจของกรุงเนปิดอว์ คือ รัฐสภาแห่งสหภาพเมียนมา ที่มีการก่อสร้างเป็นอาคารขนาดใหญ่น่าเกรงขาม โดยเฉพาะถนนทางเข้ารัฐสภามีขนาดกว้างถึง12 ช่องจราจร และอนุสาวรีย์ของกษัตริย์เมียนมา 3 พระองค์ จัดสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเกียรติคุณของบูรพมหากษัตริย์ที่ได้รวบรวมเมียนมาให้เป็นปึกแผ่น ได้แก่

  1. พระเจ้าอโนรธา แห่งอาณาจักรพุกาม
  2. พระเจ้าบุเรงนอง แห่งอาณาจักรหงสาวดี
  3. พระเจ้าอลองพญา แห่งอาณาจักรชเวโบ

เนปิดอว์  มีความหมายว่า "เมืองหลวงของราชวงศ์" "ที่ตั้งของกษัตริย์"หรือ"ที่พำนักของกษัตริย์" เดิมมันถูกใช้เป็นคำต่อท้ายชื่อเมืองหลวงของราชวงศ์ ชื่อนี้แท้จริงแล้วแปลว่า "ที่พำนักของกษัตริย์" ในภาษาพม่า

myanmar 01

อนุสาวรีย์ 3 กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศพม่า (ภาพจาก http://asiasociety.org)

myanmar 02

มหาเจดีย์อุปปาตสันติ (ภาพจากเว็บไซต์: วิกิพีเดีย)

 

myanmar 03

อาคารรัฐสภา (ภาพจากเว็บไซต์ : asahi)

[Top]

เมืองสำคัญ เมืองเศรษฐกิจ

1. กรุงย่างกุ้ง (Yangon)

           อดีตเมืองหลวงของ เมียนมา เดิมชื่อ เมืองดาโกง (Dagon) มีพื้นที่ประมาณ     1 หมื่นตาราง กิโลเมตร พื้นที่เขตเมืองประมาณ 598 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 7.3 ล้านคน เป็นศูนย์กลาง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และกระจายสินค้าไปยัง เมือง ต่างๆ ของประเทศ เนื่องจากมีความพร้อมทางด้าน สาธารณูปโภคพื้นฐานมากกว่าเมืองอื่น เป็นศูนย์กลาง การลงทุนที่สำคัญ โดยมีเขตนิคมอุตสาหกรรม (Industrial Zone) และเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (Thilawa SEZ) ที่มาของชื่อ ย่างกุ้ง (ရန်ကုန်) เป็นคำผสมที่เกิดจากคำว่า ยาน yan (ရန်) ซึ่งมีความหมายว่า ศัตรู ข้าศึก และคำว่า โกน koun (ကုန်) ซึ่งมีความหมายว่า หมดไป ซึ่งสามารถแปลได้อีกอย่างว่า อวสานสงครามหรือสิ้นสุดสงคราม

           อุตสาหกรรมที่น่าลงทุน ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรม การผลิตสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรมการประมง ธุรกิจ การท่องเที่ยว ธุรกิจการบริการ เช่น ร้านอาหาร อู่ซ่อมรถ และสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อุตสาหกรรมไม้แปรรูป การผลิตของชำร่วยและสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากไม้ เป็นต้น

Sule Paya 1 Sule Paya 2

เจดีย์สุเล หรือที่เรียกว่า สุเลพญา (Sule Paya)     เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมสีทอง
ภาพจาก Yangon : ภาพจาก http://www.myanmartourism.org

Sule Paya 3

เจดีย์ชเวดากอง
ภาพจาก http://www.chiangraismile.com

Sule Paya 4

ท่าเรือติลาวา ในย่างกุ้ง
ภาพจาก http://www.bangkokbiznews.com

2. เมืองบะโก หรือ พะโค (ฺBago)

          เดิมชื่อเมือง หงสาวดี เป็นเมืองหลวงของเขตบะโก อยู่ห่างจาก กรุงย่างกุ้งไปทางทิศเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 3.9 หมื่นตารางกิโลเมตร เขตบะโก มีประชากรประมาณ 4.8 ล้านคน เฉพาะเมืองบะโก มีประชากรประมาณ 1.7 ล้านคน เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าว และสินค้าเกษตรที่สำคัญ มีโรงงานน้ำตาล โรงงานทอผ้า และโรงงานเซรามิก อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม โดยมีพระราชวังบุเรงนอง พระเจดีย์ชเวมอดอว์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ

          อุตสาหกรรมที่น่าลงทุน ได้แก่ โรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว ร้านอาหาร อู่ซ่อมรถ และร้านทำผม

image020

พระราชวังบุเรงนอง

ภาพจาก http://www.tourbkk.com

 image022

เจดีย์ชเวมอดอร์หรือพระธาตุมุเตา

ภาพจาก http://www.talonteaw.com

3. เมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay)

           อดีตเมือง หลวงของเมียนมา ก่อนที่จะกลายเป็นเขตอาณานิคม ของอังกฤษ มีพื้นที่เขตเมืองประมาณ 163 ตาราง กิโลเมตร เขตมัณฑะเลย์มีพื้นที่ประมาณ 3.7 หมื่น ตารางกิโลเมตร เขตมัณฑะเลย์มีประชากรประมาณ 6.1 ล้านคน เฉพาะเมืองมัณฑะเลย์ มีประชากร ประมาณ 1.7 ล้านคน อยู่ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทาง ทิศเหนือประมาณ 620 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางการ ค้าการลงทุนที่สำคัญของเขตส่วนกลางและตอนเหนือของเมียนมา เป็นศูนย์กลางเส้นทางการค้าไปยังอินเดียและจีน (ตอนใต้) เป็นแหล่งรวมงานศิลปหัตถกรรมทั้งงานภาพ งานแกะสลักไม้-หินอ่อน-หยก การสร้างสถูปเจดีย์ การผลิตแผ่นทองคำเปลว และงานหล่อรูปต่างๆเป็นแหล่งเพาะปลูกฝ้าย ยาสูบ ถั่วต่างๆ

           อุตสาหกรรมที่น่าลงทุน ได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยว อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ขนาดเล็ก และหัตถกรรม

image024 image026

พระราชวังมัณฑะเลย์                                                                 วัดพระมหามัยมุนี
ภาพจาก http://mblog.manager.co.th/leknuaon/th-72078/


4. เมืองเมียวดี (Myawaddy)

          เป็นเมืองชายแดนที่สำคัญของรัฐกะเหรี่ยง มีพรมแดนติดต่อกับอำเภอแม่สอด จังหวัดตากของไทย มีประชากรประมาณ 2.1 แสนคน เป็นด่านการค้าชายแดนที่สำคัญ มีบทบาทสำคัญในการ รวบรวมสินค้าจากชายแดนไทย ก่อนที่จะกระจายสินค้าไปยังเมืองต่างๆ ของเมียนมา ถือเป็นเส้นทางขนส่งสินค้า ทางถนนสายหลักของไทยกับเมียนมา อีกทั้งมีเขตนิคมอุตสาหกรรมเมียวดี ที่สามารถรองรับการเป็นฐานการผลิตสินค้าของไทย ความสำคัญของเมืองเมียวดีอีกประการหนึ่งคือ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเมียนมาร์โดยกำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างชายแดน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กับจังหวัดเมียวดี

          อุตสาหกรรมที่น่าลงทุน ได้แก่อุตสาหกรรมการเกษตรและอัญมณี

image028

เมียวดี

ภาพจาก https://th.wikipedia.org

image030

ตลาดบุเรงนอง

ภาพจาก http://www.panoramio.com


5.เมืองท่าขี้เหล็ก (Tachileik)

           เป็นเมืองชายแดนที่สำคัญของรัฐฉาน มีพรมแดนติดต่อกับอำเภอแม่สาย จังหวัด เชียงรายของไทย มีประชากรประมาณ 1.7 แสนคน เป็นด่านการค้าชายแดนที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง มีบทบาทสำคัญ ในการเป็นช่องทางขนส่งสินค้าจากไทยไปยังเมืองต่างๆ ทางตอนเหนือของเมียนมาและจีน (ตอนใต้)

image032

ด่านแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก

ภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki

image034

ตลาดท่าขี้เหล็ก

ภาพจาก http://chiangraiairportthai.com

6.เมืองเมาะละแหม่ง

            เป็นเมืองเอกของรัฐมอญ มีประชากร ประมาณ 2 ล้านคน อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงเชื้อชาติแล้วเมืองเมาะละแหม่ง ประกอบด้วยพลเมืองเชื้อชาติมอญส่วนใหญ่ พลเมืองส่วนน้อยเท่านั้นที่มีเชื้อสาย พม่า สภาพทั่วไปของเมืองเมาะละแหม่งนั้นเป็นเมืองเกษตรกรรมใกล้ชายทะเล ริมอ่าวเมาะตะมะคนมอญเรียกชื่อเมืองนี้ว่า “โหมดแหมะเหลิ่ม” เมื่อร้อยกว่าปี ที่แล้วก่อนที่อังกฤษจะเข้ามาถึง เมืองนี้แทบหาคนเชื้อชาติอื่นไม่ได้เลยนอกจาก คนมอญ ความโดดเด่นของเมืองแห่งนี้คือ เป็นเมืองตากอากาศชายทะเล ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศ

            อุตสาหกรรมที่น่าลงทุน ได้แก่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา อุตสาหกรรมสิ่งทอ และธุรกิจท่องเที่ยว

image036 image038

ภาพจาก http://www.banmuang.co.th


7. เมืองทวาย (Dawei)

            เมืองหลวงของเขตตะนาวศรี เขตตะนาวศรีมีประชากรประมาณ 1.4 ล้านคน ทวาย มีประชากรประมาณ 4.9 แสนคน มีเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (Dawei Special Economic Zone : Dawei SEZ) ร่วมลงทุนระหว่างไทย เมียนมา และญี่ปุ่น ถือเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน   เมียนมา ด้วยพื้นที่ 250 ตารางกิโลเมตร ห่างจากด่านบ้านน้ำพุร้อน จังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 132 กิโลเมตร มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลาง การลงทุนและการขนส่งสินค้าไปยังอินเดียและสหภาพยุโรป อีกทั้งทรัพยากรธรรมชาติยังมีความอุดมสมบูรณ์ เช่น แร่ดีบุกและทังสเตน 

image040

ภาพจาก https://www.sunitjotravel.com

8. เมืองมะริด (Myeik)

           เมืองท่าทางการประมงและศูนย์กลางการค้าไข่มุกที่สำคัญของเขตตะนาวศรี มีประชากร ประมาณ 6.9 แสนคน รัฐบาลเมียนมากำหนดให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงทะเลครบวงจร เป็นแหล่งเพาะเลี้ยง ปูนิ่มและหอยมุก เพื่อส่งออกไปญี่ปุ่นและไทย

9. เมืองตองยี (Taunggyi)

          เป็นเมืองหลวงของรัฐฉาน รัฐฉานมีประชากรประมาณ 5.8 ล้านคน เฉพาะเมือง ตองยี มีประชากรประมาณ 1.7 ล้านคน เป็นจุดรวบรวมและกระจายสินค้าจากจีนและไทยไปยังเมืองทางตอนเหนือ

10. เมืองมูเซ (Muse)

          เมืองชายแดนของรัฐฉาน มีพรมแดนติดต่อกับเมืองรุ่ยลี่ มณฑลยูนนานของจีน มีประชากร ประมาณ 4.5 แสนคน เป็นด่านการค้าชายแดนที่สำคัญระหว่างเมียนมากับจีน โดยเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าสายหลัก จากจีนสู่เมียนมา มีมูลค่าการค้าชายแดนสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 80 ของมูลค่าการค้าชายแดนทั้งหมดของเมียนมา

11. เมืองชิตต่วย (Sittwe)

         เป็นเมืองหลวงของรัฐยะไข่ รัฐยะไข่มีประชากรประมาณ 2.1 ล้านคน เฉพาะเมือง ชิตต่วย มีประชากรประมาณ 5.3 แสนคน เป็นเมืองศูนย์กลางของอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน รัฐบาลอินเดีย ให้การสนับสนุนการลงทุนสร้างท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ (Sittwe Deep Sea-port) เพื่อเชื่อมโยงรัฐ Mizoram และ Manipur ของอินเดียที่ไม่มีทางออกทะเล เข้ากับเมือง Kaletwa ของเมียนมา ผ่านทางถนนและแม่น้ำ Kaladan ซึ่งจะ ช่วยร่นระยะทางการขนส่งสินค้าได้ถึง 673 กิโลเมตร

12. เมืองจ้าวผิ่ว (Kyaukpyu)

        มีประชากรประมาณ 4.3 แสนคน รัฐบาลจีนให้การสนับสนุนการลงทุนเขต เศรษฐกิจพิเศษจ้าวผิ่ว (KyaukPyu Special Ecomonic Zone : KyaukPyu SEZ) เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม ปิโตรเลียมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งจะเชื่อมโยงกับแหล่งก๊าซธรรมชาติ Shwe (Shwe Gas Project) โครงการ ขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทางท่อเชื่อมโยงสู่นครคุนหมิงและนครหนานหนิง สปป.จีน

13. เมืองป่าเต็ง (Pathein)

       เป็นเมืองหลวงของเขตอิรวดี เขตอิรวดีมีประชากรประมาณ 6.1 ล้านคน เฉพาะเมือง ป่าเต็ง มีประชากรประมาณ 1.6 แสนคน เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวหอม “ปอซาน : Paw San” และเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของเมียนมา โดยเฉพาะกุ้งแม่น้ำซึ่งมีขนาดใหญ่ (ประมาณ 2-3 ตัว/กิโลกรัม)

[Top]


อ้างอิง

[Top]

  • กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (คู่มือโอกาสและทิศทางการค้าการลงทุนในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา)(ออนไลน์)แหล่งที่มา: http://www.ditp.go.th/ditp_pdf.php?filename=contents_attach/92681/92681.pdf&title=92681
  • asean-info.com (สภาพทางภูมิศาสตร์ : เมียนมาร์) (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.asean-info.com/asean_members/myanmar_location_climate.html
  • กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย (คู่มือ การค้าและการลงทุนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์)(ออนไลน์)แหล่งที่มา http://www.aecthaibiz.com/aecadmin/uploads/20150506_111719.pdf
  • วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (ประเทศพม่า)(ออนไลน์) แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki

ผู้ใช้งานออนไลน์

มี 86 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

จำนวนผู้ใช้งาน

301995
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
1
325
1653
298421
8042
10102
301995

Your IP: 44.220.41.140
2024-03-29 00:04

แสดงรูปภาพแบบสุ่ม

04.jpg

ติดต่อ-ประสานงาน

ศูนย์เมียนมาร์ศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด
เลขที่ 222 ม.7 ต.แม่ปะ 
อ.แม่สอด จ.ตาก 63110
โทร. 095-316-8999

 facebook     youtube 

email     twitter